นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์พลังงานในปี 2565 พบว่า ภาพรวมการใช้พลังงานขั้นต้น อยู่ที่ระดับ 1,990 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการลดลงจากการใช้ก๊าซธรรมชาติ 9.6% และการใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ ลดลง 9.1%
ส.อ.ท. คาดการณ์ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศปี'66 โตแตะ 9 แสนคัน
สหรัฐฯเงินเฟ้อลด คลายกังวลดอกเบี้ย จับตาเงินบาทแข็งไม่หยุด กระทบส่งออก
ด้านการใช้ในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากราคาถ่านหินปรับตัวสูงขึ้นส่วนการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 14.9% เนื่องจากผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติเพิ่มมากขึ้น
สำหรับการใช้ไฟฟ้าพลังน้ำ/ไฟฟ้านำเข้าเพิ่มขึ้น 11.1% ตามปริมาณฝนและน้ำในเขื่อน รวมทั้งการนำเข้าไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สำหรับสถานการณ์พลังงานรายเชื้อเพลิงของปี 2565 สรุปได้ดังนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
การใช้น้ำมันสำเร็จรูป ภาพรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 14.4% อยู่ที่ระดับ 137.5 ล้านลิตรต่อวัน โดยการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 15.7% มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 73.1 ล้านลิตรต่อวัน น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล เพิ่มขึ้น 3.9% มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 30.2 ล้านลิตรต่อวัน น้ำมันเครื่องบิน เพิ่มขึ้น 87.7% มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 9.2 ล้านลิตรต่อวัน น้ำมันเตา เพิ่มขึ้น 15.4% มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 6.4 ล้านลิตรต่อวัน การใช้ LPG โพรเพน และบิวเทน ภาพรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.6% อยู่ที่ระดับ 6,448 พันตัน จากการขยายตัวของเศรษฐกิจและการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 4.8% และ ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 3.8% สำหรับภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้น 1.0% ขณะที่การใช้ ภาคขนส่ง เพิ่มขึ้น 30.3% เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ผู้ใช้รถส่วนหนึ่งหันกลับมาใช้ LPG ทดแทนน้ำมัน
การใช้ก๊าซธรรมชาติ ภาพรวมเฉลี่ยลดลง 5.7% มีปริมาณการใช้อยู่ที่ระดับ 4,143 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยลดลงจากการใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าและการใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งการใช้เพื่อผลิตไฟฟ้า ลดลง 6.4% เนื่องจากการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีปริมาณลดลง ทำให้มีความจำเป็นต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG แบบสัญญาจร (Spot LNG) เพิ่มขึ้น เพื่อมาใช้ทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย สำหรับการใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ลดลง 14.2% อย่างไรก็ตามในส่วนของการใช้ในภาคอุตสาหกรรม มีการใช้เพิ่มขึ้น 4.4% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การส่งออกสินค้า และการใช้ในภาคขนส่ง เพิ่มขึ้น 8.8% เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ส่วนการใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ ลดลง 9.0% อยู่ที่ระดับ 16,997 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ สอดคล้องกับปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ลดลง
ด้านการใช้ไฟฟ้า ภาพรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.5% อยู่ที่ 197,209 ล้านหน่วย จากการใช้ที่เพิ่มขึ้นในเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ ยกเว้น ครัวเรือนและภาคเกษตรกรรม ทั้งนี้ ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในระบบ 3 การไฟฟ้า (System Peak) ของปี 2565 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 ณ เวลา 14:30 น. ที่ระดับ 33,177 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น 6.9% เมื่อเทียบกับ Peak ของปี 2564 ที่ระดับ 31,023 เมกะวัตต์ โดยการใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 2.5% สำหรับภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้น 11% โดยกลุ่มธุรกิจสำคัญที่มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจโรงแรม เพิ่มขึ้น 44.3% ธุรกิจอพาร์ทเม้นท์และเกสเฮ้าส์ เพิ่มขึ้น 14.1% และธุรกิจห้างสรรพสินค้า เพิ่มขึ้น 10.2% เป็นต้น
นายวัฒนพงษ์ กล่าวว่า สนพ. ได้มีคาดการณ์แนวโน้มการใช้พลังงานปี 2566 โดยอ้างอิงสมมุติฐานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าภาพรวมการใช้พลังงานในปี 2566 จะเพิ่มขึ้น 2.8% อยู่ที่ระดับ 2,047 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน การใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน/ลิกไนต์ จะเพิ่มขึ้น 0.7% จากการใช้ถ่านหินนำเข้าที่เพิ่มขึ้น การใช้น้ำมัน จะเพิ่มขึ้น 4.6% โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล และน้ำมันเครื่องบิน จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวภายในประเทศ และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินจากต่างประเทศ การใช้ก๊าซธรรมชาติ จะเพิ่มขึ้น 1.8% การใช้ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้า จะเพิ่มขึ้น 4.4% สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความต้องการการเดินทางภายในประเทศและการเดินทางระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
สำหรับสถานการณ์ราคาพลังงานนั้น สศช. คาดว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2566 จะอยู่ที่ 80.0 – 90.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2566 จะอยู่ที่ 32.2 – 33.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 2.6 และเศรษฐกิจภายในประเทศ (GDP) ปี 2566 จะขยายตัวในช่วง 2.7 – 3.7% ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ การอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และภาคการเกษตร