ในยุคที่อนาคตของมนุษยชาติอาจอยู่ที่ดวงจันทร์ หนึ่งในผู้เล่นด้านเทคโนโลยีอวกาศที่สำคัญคือ “ญี่ปุ่น” ซึ่งตั้งเป้าที่จะส่งคนขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ภายในปี 2030
ไอสเปซ (Ispace) บริษัทสตาร์ทอัปของญี่ปุ่น เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการไปเยือนดวงจันทร์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้พยายามนำยาน “ฮาคุโตะ-อาร์” (Hakuto-R) ลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก แต่เกิดความผิดพลาด ทำให้ทีมควบคุมขาดการติดต่อกับยานอวกาศของตน และต้องประกาศให้ภารกิจครั้งนี้ “ล้มเหลว”
ยานฮาคุโตะ-อาร์เป็นยานอวกาศแบบไม่มีนักบินอวกาศ ซึ่งบรรทุกยานสำรวจจากนานประเทศไว้เพื่อนำไปปล่อยบนดวงจันทร์ ออกเดินทางไปยังดวงจันทร์ตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. ปีที่แล้ว และคาดว่าจะลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ในเวลา 01.40 น. ของวันที่ 26 เม.ย. 2023 ตามเวลาท้องถิ่นญี่ปุ่น
แต่เมื่อยานลงจอดล่าช้ากว่ากำหนดการไปราว 20 นาที เจ้าหน้าที่ไอสเปซก็รายงานว่า ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับยานฮาคุดตะ-อาร์ได้ “เราไม่สามารถติดต่อกับยานได้ … เราจำเป็นต้องสันนิษฐานว่า เราไม่สามารถลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ”
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กล่าวว่า พวกเขาจะยังคงพยายามติดต่อกับยานอวกาศต่อไป
ด้าน ฮาคามาดะ ทาเคชิ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของไอสเปซ กล่าวหลังจากภารกิจล้มเหลวว่า จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของยานอวกาศไปจนถึงช่วงของการลงจอด เพื่อตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นและหาสาเหตุของความล้มเหลว
นึกว่าลูกแก้วอัญมณี! ภาพ “ดาวยูเรนัส” จากกล้อง “เจมส์ เว็บบ์”
นักวิทย์พบ “หลุมดำมวลยิ่งยวด” แห่งใหม่ มีขนาดใหญ่สุดเท่าที่เคยพบ!
นักวิทยาศาสตร์รู้แล้ว! “น้ำบนดวงจันทร์” ซุกซ่อนอยู่ที่ไหน
ฮาคุโตะ-อาร์มีความสูงมากกว่า 2 เมตร หนัก 340 กก. อยู่ในวงโคจรของดวงจันทร์ตั้งแต่เดือนที่แล้ว การร่อนลงและลงจอดเป็นแบบอัตโนมัติทั้งหมด และตามทฤษฎีควรจะติดต่อสื่อสารกลับมายังโลกทันทีที่แตะพื้นผิวดวงจันทร์
จนถึงขณะนี้ มีเพียงสหรัฐฯ รัสเซีย และจีนเท่านั้น ที่สามารถส่งยานอวกาศไปลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้
Astrobotic บริษัทเทคโนโลยีอวกาศจากสหรัฐฯ ซึ่งมีภารกิจลงจอดบนดวงจันทร์ในปลายปีนี้ กล่าวว่า “เราขอแสดงความยินดีกับทีมงานของไอสเปซที่บรรลุเหตุการณ์สำคัญจำนวนมากระหว่างการพยายามลงจอดในวันนี้ … เราหวังว่าทุกคนจะตระหนักว่า วันนี้ไม่ใช่วันที่ต้องอาย แต่เป็นโอกาสที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดและก้าวไปข้างหน้า”
ซึ่งในความเป็นจริงก็ต้องบอกว่า ไอสเปซเป็นบริษัทเทคโนโลยีอวกาศที่น่าสนใจมาก เพราะมีพนักงานเพียง 200 คนเท่านั้น แต่การประสบความสำเร็จถึงขั้นยานเกือบจะลงจอดบนดวงจันทร์ได้ก็นับว่าควรค่าแก่การชื่นชมแล้ว
ไอสเปซกล่าวว่า “บริษัทมีเป้าหมายที่จะขยายขอบเขตชีวิตมนุษย์ไปสู่อวกาศ และสร้างโลกที่ยั่งยืนด้วยการให้บริการขนส่งต้นทุนต่ำระหว่างโลกกับดวงจันทร์”
ฮาคามาดะกล่าวว่า ”ภารกิจนี้เป็นการวางรากฐานสำหรับการปล่อยศักยภาพของดวงจันทร์และเปลี่ยนให้เป็นระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีชีวิตชีวา”
บริษัทเชื่อว่า ดวงจันทร์จะสามารถรองรับประชากรโลกได้ 1,000 คนภายในปี 2040 โดยมีผู้มาเยือนมากกว่า 10,000 คนในแต่ละปีคำพูดจาก เครื่องสล็อต
แม้ฮาคุโตะ-อาร์จะล้มเหลว แต่ไอสเปซยังมีแผนภารกิจที่สองซึ่งมีกำหนดการไม่แน่นอนในปีหน้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งการลงจอดบนดวงจันทร์และการส่งยานโรเวอร์ของตัวเองไปสำรวจดวงจันทร์
เรียบเรียงจาก The Guardian
ภาพจาก AFP