รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า สำนักสำรวจและออกแบบ ได้ดำเนินการโครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 323 อ.ทองผาภูมิ-อ.สังขละบุรี ตอน บ.ท่าขนุน-เจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งได้จัดประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3) ที่ อ.ทองผาภูมิ และ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 31 ส.ค.-1 ก.ย. ที่ผ่านมา เพื่อนำข้อมูลมาประกอบผลการศึกษาให้สมบูรณ์ พร้อมจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพื่อเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณา รวมทั้งของบประมาณก่อสร้างจำนวน 2,700 ล้านบาท และดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (เวนคืน) คาดเริ่มสร้างปี 70 คาดเปิดบริการปี 72 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
จุดเริ่มต้นโครงการที่สามแยกท่าขนุน ทล.323 กม.ที่ 199+826 จุดสิ้นสุดโครงการที่ ทล.323 กม.ที่ 263+826 พื้นที่ อ.ทองผาภูมิ และ อ.สังขละบุรี ระยะทาง 64 กิโลเมตร(กม.)รูปแบบจะปรับปรุงถนนเดิมขนาด 2 ช่องจราจร ไม่มีไหล่ทางหรือไหล่ทางกว้างไม่ได้ตามมาตรฐาน จะปรับปรุงใหม่ให้เป็นขนาด 2 ช่องจราจรเท่าเดิม มีไหล่ทาง และทำให้ได้ตามมาตรฐานทางหลวง ส่วนบางช่วงที่เป็นทางเนินและภูเขาจะสร้างเป็น 3 ช่องจราจร จากเดิม 2 ช่องจราจร เพื่อเพิ่มช่องจราจรสำหรับแซงและไต่ลาดชัน ขณะที่ช่วงทางแยกจะปรับปรุงเป็น 4 ช่องจราจร มีเกาะกลาง เพิ่มความจุทางแยกและความปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งดำเนินงานระบบระบายน้ำ งานอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย งานสีตีเส้นจราจร และติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง
โครงการดังกล่าวได้ออกแบบให้ดำเนินการอยู่ในเขตทางเดิมของ ทล. เพื่อลดผลกระทบประชาชนน้อยที่สุด ขณะเดียวกันมีบางพื้นที่ที่มีปรับลักษณะงาน เพื่อให้ปลอดภัย จึงมีการเวนคืนพื้นที่บางส่วนประมาณ 2 งาน 90 ตารางวา ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม
ทล.323 หรือถนนแสงชูโต สายหนองตะแคง-เจดีย์สามองค์ เป็นทางหลวงสายหลักเชื่อมโยงจาก จ.นครปฐม ไปยัง จ.กาญจนบุรี ที่บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ มีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สายทางมีความคดเคี้ยว เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ทำให้ผู้ใช้ทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทล. จึงว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้แก่ บริษัท ดีเคด คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ธรรมชาติ คอนซัลแตนท์ จำกัด ศึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวงโครงการดังกล่าว เพื่อให้การศึกษาสำรวจและออกแบบรายละเอียดทางหลวงครบองค์ประกอบ เป็นไปตามแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง และการขยายช่องจราจรให้สอดรับภารกิจของ ทล. โดยแนวเส้นทางบางช่วงของโครงการอยู่ในขอบเขตพื้นที่ป่าไม้ ป่าสงวน พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1A พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 2 พื้นที่อุทยาน และแหล่งโบราณสถาน จึงเข้าข่ายต้องจัดทำ EIA เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประชาชน และชุมชนที่อยู่บริเวณพื้นที่โครงการน้อยที่สุด
โครงการนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจราจรและการขนส่งสินค้าในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันตก ไปยังด่านเจดีย์สามองค์ เชื่อมต่อประเทศเมียนมาสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ช่วยแก้ปัญหารถติดในพื้นที่ รองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และลดอุบัติเหตุบนท้องถนน